วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

10 อันดับโปรแกรมป้องกันไวรัส (AntiVirus) ที่ดีที่สุดสำหรับปี 2014

        เว็บไซต์ TopTenReviews ก็ได้ทำการจัดอันดับโปรแกรมป้องกันไวรัสที่ดีที่สุดสำหรับปี 2014 (Best AntiVirus Software Review) ซึ่งก็จะมีการให้คะแนนในส่วนต่างๆ ตาม Criteria ที่กำหนดขึ้นมา ได้แก่ ในเรื่องของ Performance,?Features, Supported Configurations และ Help & Support



โปรแกรมป้องกันไวรัสที่ดีที่สุดในปี 2014
จัดอันดับทั้งหมด 10 โปรแกรม ดังนี้
อันดับที่ 1 Bitdefender AntiVirus Plus
อันดับที่ 2 Kaspersky Anti-Virus
อันดับที่ 3 Norton AntiVirus
อันดับที่ 4 F-Secure Anti-Virus
อันดับที่ 5 AVG Anti-Virus
อันดับที่ 6 BullGuard Antivirus
อันดับที่ 7 G Data Antivirus
อันดับที่ 8 Panda Antivirus Pro
อันดับที่ 9 Avast! Pro Antivirus 8
อันดับที่ 10 McAfee AntiVirus Plus

วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การประยุกต์ใช้ YouTube กับการเรียนการสอน

      ยูทูบ (YouTube) เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการแลกเปลี่ยนภาพวิดีโอระหว่างผู้ใช้ที่มีการให้บริการฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นข้อดีของเว็บไซต์ ทำให้มีผู้ใช้บริการจำนวนมาก ไม่ว่าจะใช้เพื่อการโปรโมทสินค้า ความบันเทิง และยังรวมถึงใช้ในการศึกษาและจัดการเรียนการสอนสำหรับครูอีกด้วย

         สำหรับการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน YouTube ได้เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นเครื่องมืออีกตัวที่สามารถทำให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

      ด้านผู้สอน : มีการน า YouTube มาใช้เป็นสื่อทางการเรียนการสอน หรือมีการอัดวิดีโอการสอนเนื้อหาที่ตนเองได้รับผิดชอบแล้วอัปโหลดในเว็บ YouTube เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษา ในการเรียนการสอนเมื่อครูนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาจะทำให้ผู้เรียนสนใจและตั้งใจเรียนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสื่อที่มีการเคลื่อนไหว มีเสียง หรืออื่นๆ ที่นอกเหนือจากการบรรยาย สำคัญกว่านั้นคือการใช้ YouTube เป็นสื่อในการจัดการเรียนการสอนจะส่งผลดีแก่ผู้เรียน คือ ผู้เรียนสามารถเข้ามาศึกษาหาความรู้ในวันและเวลาใดก็ได้ตามที่ต้องการ

      ด้านผู้เรียน : ผู้เรียนสามารถค้นคว้าหาความรู้ผ่านทาง YouTub ได้ตลอดเวลา ไม่เพียงทางด้านการเรียนเท่านั้นYouTube ยังมีวิดีโอที่น่าสนใจอีกมากมาย เช่น เทคนิคการถักผ้าพันคอ การร้อยมาลัย และยังมีเทคนิควิธีการต่างๆที่น่าสนใจอีกมากมาย อาจมีการแลกเปลี่ยนวิดีโอหรืองานต่างๆที่จัดทำในรูปแบบวิดีโอระหว่างเพื่อนด้วยกัน  YouTube จึงนับเป็นอีกหนึ่งเว็บไซต์ดีดีที่ช่วยส่งเสริม พัฒนาครูและนักเรียน ในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ซึ่งเป็น อีกทางเลือกหนึ่งของครูในการจัดการเรียนรู้ ในยุคปฏิรูปการศึกษาและก้าวเข้าสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียนให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ต่อไป

วิธีสมัครใช้งาน youtube




E-Library คือ อะไร?

E-Library
       E-Library  มาจากคำว่า  Electronic Library  หมายถึง แหล่งความรู้ที่บันทึกข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและให้บริการสารสนเทศทางอิเล็กทรอนิกส์หรือผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ลักษณะของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
  1.  การจัดการทรัพยากรสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์
  2. ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศโดยทางอิเล็กทรอนิกส์
  3. บรรณารักษ์หรือบุคลากรของห้องสมุดสามารถแทรกการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับห้องสมุดได้เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์
  4. ความสามารถในการจัดเก็บ รวบรวมและนำส่งสารสนเทศสู่ผู้ใช้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์

ประโยชน์ของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
                ประโยชน์ของการพัฒนาห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์คือ การจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบ ช่วยเพิ่มความรวดเร็วในการเข้าถึงข้อมูลหรือค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ในเวลาที่ต้องการ เป็นการแพร่กระจายความรู้ให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกยิ่งขึ้นโดยไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่เช่นเดียวกับการดำเนินงานขององค์กรในลักษณะ e-Office และ e-Commerce เป็นต้น
ข้อจำกัดของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
-          ผู้ใช้จะต้องมีอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต
-          ผู้ใช้ต้องมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์




มารู้จักกับ KruTube กันเถอะ

Krutube คืออะไร
       Krutube เป็นการจัดทำสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผ่าน "KruTube Channel : ครูไทยยุคไอที สร้างคลิปดีให้เด็กดู ที่ไม่ใช่แค่ Channel บน Youtube แต่เป็นบริการเลยทีเดียว ผู้สนับสนุนก็คือ สพฐ โดย กลุ่มเผยแพร่และพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยี สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน 

วิธีใช้งาน
1.คลิกที่กรอบสีแดงเพื่อสมัครสมาชิก (กรณีที่ยังไม่เคยสมัครสมาชิก)

2.กรอกข้อมูลให้ครบถ้วนแล้วกดปุ่ม Register

3.เมื่อสมัครเสร็จเรียบร้อยแล้วจะขึ้นหน้าต่างดังนี้ ต้องไปยืนยันที่อีเมลใช้สมัคร

วิธีเข้าใช้งาน 
1.คลิกที่กรอบสีแดง จะได้หน้าต่างดังรูป กรอก Username และ Password ลงในช่องแล้วกดปุ่ม LOGIN

สร้าง E-Book ด้วย Flip Album

โปรแกรม Flip Album

               โปรแกรม Flip Album   เป็นโปรแกรมลักษณะของโปรแกรมสำเร็จรูป โดยโปรแกรมชุด FilpAlbum เป็นโปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Book ซึ่ง อีบุ๊ค” (eBook, EBook, e-Book) เป็นคำภาษาต่างประเทศ ย่อมาจากคำว่า electronic book  หรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งจัดทำขึ้นด้วย ระบบคอมพิวเตอร์ หรือ หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และ สามารถอ่านได้จากหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์เหมือนเปิดอ่านจากหนังสือโดยตรงที่เป็นกระดาษ แต่ไม่มีการเข้าเล่ม เหมือนหนังสือที่เป็นกระดาษ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มีความสามารถมากมายคือ มีการเชื่อมโยง (Link) กับ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มอื่นๆ ได้

วิธีใช้งาน


ข้อดี

o เป็นสื่อที่รวมเอาจุดเด่นของสื่อแบบต่างๆ มารวมอยู่ในสื่อตัวเดียว คือสามารถแสดงภาพ แสง เสียง ภาพเคลื่อนไหว และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้
o ช่วยให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาการเรียนรู้และเข้าใจเนื้อหาวิชาได้เร็วขึ้น
o ผู้สอนสามารถใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในการชักจูงผู้เรียนในการอ่าน การเขียน การฟังและการพูดได้
o สามารถออนไลน์ผ่านเครือข่ายและเชื่อมโยงไปสู่โฮมเพจและเว็บไซต์ต่างๆ อีกทั้งยังสามารถ
อ้างอิงในเชิงวิชาการได้ หากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรือ
อินทราเน็ตจะทำให้การกระจายสื่อทำได้อย่างรวดเร็ว และกว้างขว้างกว่าสื่อที่อยู่ในรูปสิ่งพิมพ์
o สนับสนุนการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือน ห้องสมุดเสมือนและห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
เชื่อมโยงไปสู่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้โดยใช้ความสามารถของไฮเปอร์เท็กซ์ในการสอนหรืออบรม
นอกสถานที่ การใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะช่วยให้เกิดความคล่องตัวยิ่งขึ้น เนื่องจากสื่อสามารถสร้างเก็บไว้ในแผ่นซีดีได้ ไม่ต้องหอบหิ้วสื่อซึ่งมีจำนวนมาก
o สามารถทำสำเนาได้เท่าที่ต้องการ ประหยัดวัสดุในการสร้างสื่อ อีกทั้งยังช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย
o มีความทนทาน และสะดวกต่อการเก็บบำรุงรักษา ลดปัญหาการจัดเก็บเอกสารย้อนหลังซึ่งต้องใช้เนื้อที่หรือบริเวณกว้างกว่าในการจัดเก็บ สามารถรักษาหนังสือหายากและต้นฉบับเขียนไม่ให้เสื่อมคุณภาพ
o ช่วยให้นักวิชาการและนักเขียนสามารถเผยแพร่ผลงานเขียนได้อย่างรวดเร็ว

ข้อจำกัด

o คนส่วนใหญ่ยังคงชินอยู่กับสื่อที่อยู่ในรูปกระดาษมากกว่า อีกทั้งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ยังไม่สามารถใช้งานได้ง่ายเมื่อเทียบกับสื่อสิ่งพิมพ์ และความสะดวกในการอ่านก็ยังน้อยกว่ามาก
o หากโปรแกรมสื่อมีขนาดไฟล์ใหญ่มากๆ จะทำให้การเปลี่ยนหน้าจอมีความล่าช้า
o การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดี ผู้สร้างต้องมีความรู้ และความชำนาญในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และการสร้างสื่อดีพอสมควร
o ผู้ใช้สื่ออาจจะไม่ใช่ผู้สร้างสื่อฉะนั้นการปรับปรุงสื่อจึงทำได้ยากหากผู้สอนไม่มีความรู้ ด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์
o ใช้เวลาในการออกแบบมากเพราะต้องใช้ทักษะในการออกแบบเป็นอย่างดีเพื่อให้ได้สื่อที่มีคุณภาพ

Credit https://61ddd570ad611973aa45a9471d3b5268690a2ab9.googledrive.com/host/0BymflvB3DeVCZkROVzV0WWNhVTg/FlipAlbum.pdf

มารู้จักกับ Edmodo กันเถอะ

      Edmodo เป็นเว็บโปรแกรม (Web Application) โดยมีวัตถุประสงค์รวมการศึกษา
(Education) เข้ากับ สังคมออนไลน์ (Social Network ) เพื่อตอบสนองผู้ใช้งานด้านการศึกษา
และรองรับเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร และสามารถเชื่อมโยงผู้ใช้งานหลายกลุ่ม เช่น ผู้เรียน
ครูผู้สอน โรงเรียน สํานักงานเขตพื้นที่ และผู้ปกครอง ผู้ก่อตั้ง Edmodo คือ นิโคลัส บอร์ก และ
เจฟฟ์โอฮารา (Nicolas Borg, Jeff O'Hara) ก่อตั้งเมื่อ เดือนกันยายน พ.ศ. 2551(2008) ที่เมือง
San Mateo, California Edmodo รองรับภาษา อังกฤษ สเปน โปรตุเกต เยอรมัน กรีช และ
ฝรั่งเศส ปัจจุบันมีผู้ใช้งานกว่า 20 ล้านคนทั่วโลก

วิธีใช้งาน 

ข้อดี

Edmodo ให้ความเป็นส่วนตัวของห้องเรียนสามารถรับ-ส่งไฟล์ ให้คะแนนกันได้ ลักษณะหน้าตา และวิธีการใช้
Edmodo มีลักษณะคล้าย Facebook ที่ผู้เรียนมีความคุ้นเคยอยู่แล้ว 

สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่  www.pwschool.ac.th/files/1105031111214912/files/emodo.pdf

Second Life คืออะไร?

       

 ...Second Life เป็นโปรแกรมจำลองสังคม 3 มิติ หรือ Virtual World (โลกเสมือนจริง) เป็นโปรแกรมซึ่งทุกคนสามารถสมัครเข้าร่วมใช้งานได้ฟรี ขอเพียงคุณมีคอมพิวเตอร์และอินเตอเนท หลังจากลงทะเบียนสมัครผ่านเข้าไป ทุกคนจะได้ควบคุม "Avatar" หรือตัวละครเสมือนหนึ่งตน โดยคุณสามารถใช้อวตารของท่องเที่ยวไปยังโลกของ Second Life พบปะเพื่อนฝูง  ช๊อปปิ้ง เที่ยวเล่น ทำกิจกรรมต่างๆในตอนเริ่มต้น แต่หลังจากคุณเริ่มคุ้นเคยกับมัน คุณอาจจะเริ่มใช้อวตารของคุณไปสมัครหางานทำ เข้าฟังงานสัมนาต่างๆ สมัครโปรแกรมเรียนภาษา หรือกระทั่งเปิดธุรกิจขายสินค้าในโลกเสมือนจริง!

     วิธีใช้
1.เข้าไปสมัครสมาชิกที่เว็บไซต์   http://secondlife.com
2.โหลดโปรแกรม ที่เว็บไซต์ http://get.secondlife.com/
3.ติดตั้งโปรแกรม
4.ดับเบิลคลิกที่โปรแกรม login กรอก User และ Password

มีอะไรทำบ้างใน Second Life
-Make Friend   การพบปะเพื่อนใหม่ๆเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาในโลกเสมือนจริงที่ซึ่งผู้คนทั่วโลกมารวมตัวกัน โดยทั่วไปเราสามารถสื่อสารผ่านการแชทด้วยการพิมพ์คีย์บอรด์ หรือจะใช้ไมค์พูดคุยกันโดยตรงก็ยังได้
-Traveling  ใน Second Life การท่องเที่ยวเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมของคนที่ชอบค้นหาอะไรแปลกๆใหม่ คุณสามารถเดินทางใน Second Life ได้ด้วยการเดิน บิน หรือ วาปก็ได้
-E-Learning  ที่นี่เป็นสถานที่แห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง มีคอรส์ต่างๆให้คุณได้สมัครเรียนเสริมความรู้อย่าง Language Lab ซึ่งเปิดสอนภาษาอังกฤษแก่ผู้ที่สนใจ รวมไปถึงการศึกษาแบบเต็มรูปแบบซึ่งหาได้จากมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น Harvard University ที่เริ่มเปิดสอนด้านกฎหมายหรือ University of Texas ซึ่งกำลังวางแผนพัฒนารูปแบบมหาลัยเสมือนจริงขนาดใหญ่มหึมา
-Conference  หลายบริษัทระดับโลกที่มาจัดประชุม สัมนา ต่างๆใน Second Life โดยบริษัทเหล่านั้นเล็งเห็นว่า Second Life สะดวกในการใช้งาน รองรับผู้คนจำนวนมากและสามารถลดค่าใช้จ่ายได้มาก ตัวอย่างเช่น บริษัท Microsoft ก็มีเกาะเพื่อไว้สำหรับชุมชนผู้ใช้งาน Virtual Studio หรือทาง Sun ก็มีเมืองสำหรับประชาสัมพันธ์แพลทฟอรม์ภาษา Java และบริษัท IBM ที่เริ่มนำร่องให้พนักงานของตนเองทำงานผ่านโลกเสมือนจริงจนลดรายจ่ายได้อย่างมหาศาล
-Political  การแสดงออกด้านการเมืองก็เป็นประเด็นที่เห็นกันได้บ่อยๆ อย่างกลุ่มผู้สนับสนุนนายบารัก โอบามาที่จัด งานฉลองรวมตัวกันเพื่อร่วมเป็นสักขีพยานพิธีสาบานตน การรวมตัวของกลุ่ม Support Iran เพื่อต่อต้านรัฐบาลของนายมาห์มุด อาห์มาดิเนจา หรือแม้กระทั่ง ปัญหานองเลือดระหว่างอิสราเอลและปาเลสเตน์ ก็มีปะทุให้เห็นอยู่ไม่ได้ต่างจากโลกภายนอกเลย
-Religious  การเผยแพร่ศาสนาหรือแสดงออกซึ่งการความเลื่อมใสในศาสนา มีให้พบเห็นได้ทั่วไปใน Second Life คุณสามารถปรึกษาข้อข้องใจในหลักคำสอน หรือสมัครเข้ากลุ่มพูดคุยกับเหล่าศาสนิกชนด้วยกันเองผ่านทางเซคันด์ไลฟ์
-Festival & Event  เทศกาลต่างๆที่เกี่ยวกับ ดนตรี แฟชั่น ศิลปะ และภาพยนตร์ ล้วนแล้วแต่เคยมีการจัดขึ้นภายใน Second Life มาแล้วทั้งนั้น และมีอีเวนท์ใหม่ๆอัพเดทให้เราเที่ยวชมตลอดเวลา อย่าง Metaverse Shakespeare เป็นกลุ่มนักแสดงละครเวที หรือแม้แต่เทศกาลภาพยนตร์อย่าง Sundance หรือ MMIF ก็เคยเปิดเทศกาลหนังทั้งในโลกจริงควบไปกับโลกเสมือน
Charity  มีหลายองค์กรการกุศลที่เข้ามา Second Life เพื่อก่อตั้งโครงการหาบริจาคสมทบทุนในด้านต่างๆเช่น กลุ่มศิลปินที่รวมตัวกันจัดคอนเสริทการกุศลหาเงินบริจาคให้องค์กร WarChild หรือ โครงการต่อต้านโรคมะเร็ง Relay for Life ที่มาจัดเทศกาลใน Second Life หาเงินบริจาคสนับสนุนองค์กร


Moodle คืออะ ไร ?

       Moodle ย่อมาจาก Modular Object-Oriented Dynamic Learning Environment คือ ระบบจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ให้มีบรรยากาศเหมือน เรียนในห้องเรียน หรือเรียกว่าLMS (Learning Management S ystem) หรือระบบจัดคอร์สการเรียนการสอน CMS(Course Management System ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต สำหรับสถาบันการศึกษา หรือครู ใช้เพื่อเตรียมแหล่งข้อมูล กิจกรรม และเผยแพร่แบบออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต หรืออินทราเน็ต Moodleสามารถนำไปใช้ได้ ทั้งองค์กรระดับ มหาวิทยาลัย โรงเรียน สถาบัน หรือครูสอนพิเศษ โปรแกรมชุดนี้เป็น Open Source ภายใต้ข้อตกลงของ gnu.org (General Public License) สามารถ download ได้ฟรีจาก http://moodle.org ผู้พัฒนาโปรแกรมคือ Martin Dougiamas สถาบันการศึกษาใดต้องการนำไปใช้ จัดระบบการเรียนการสอน จะต้องอาศัยผู้ดูแลระบบ( Admin) ที่ความสามารถในการติดตั้ง โดยที่ต้องมี Web Server ที่บริการภาษา php และ mysql




ความสามารถของ moodle
       1. เป็นโปรแกรมจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ประเภทฟรีแวร์ ที่ได้รับการยอมรับกันทั่วโลก
       2. สามารถเป็นได้ทั้ง CMS (Course Management System) และ LMS (Learning Management System) ช่วยรวบรวมวิชาเป็นหมวดหมู่ เผยแพร่เนื้อหา ของผู้สอน พร้อมบริการให้นักเรียนเข้ามาศึกษา และบันทึกกิจกรรมของนักเรียน
       3. สามารถสร้างแหล่งข้อมูลใหม่ หรือเผยแพร่เอกสารที่ทำไว้ เช่น Microsoft Office, Web Page, PDF หรือ Image เป็นต้น ใจกว้าง ไม่หวงวิชา มีเอกสารที่เคยรวบรวมไว้ ก็ส่งเข้าไปเผยแพร่ได้โดยง่าย
       4. มีระบบติดต่อสื่อสาร ระหว่างนักเรียน เพื่อนร่วมชั้น และผู้สอน เช่น chat หรือ webboard เป็นต้น นักเรียนฝากคำถาม ครูทิ้งคำถามไว้ ครูนัดสนทนาแบบออนไลน์ ครูนัดสอนเสริม หรือแจกเอกสารให้อ่านก่อน เข้าเรียน ก็ได้
       5. มีระบบแบบทดสอบ รับการบ้าน และกิจกรรม ที่รองรับระบบ ให้คะแนนที่หลากหลาย ให้ส่งงาน ให้ทำแบบฝึกหัด ตรวจให้คะแนนแล้ว export ไป excel
       6. สำรองข้อมูลเป็น . zip แฟ้มเดียว ในอนาคตสามารถนำไปกู้คืน ลงไปในเครื่องใดก็ได้ ข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกใช้ Moodle

•  องค์ประกอบของ moodle ที่โรงเรียนควรมี
       1. มี Web Browser เช่น Internet explorer ในการติดต่อกับ moodle ทั้งโดยครูผู้สอนและนักเรียน
       2. มี Web Server ที่ให้บริการ php และ mysql
       3. มี ผู้ติดตั้ง ผู้ดูแล และบำรุงรักษา ควรทำโดยนักคอมพิวเตอร์ ที่ที่มีประสบการณ์ เกี่ยวกับการติดตั้ง การบำรุงรักษา และการเขียนเว็บ
       4. มี ครู นักเรียน และผู้บริหาร ที่ยอมรับในเทคโนโลยีสมัยใหม่ ดังนั้น moodle ไม่เหมาะกับเด็กอนุบาล หรือครูที่ไม่มีไฟ
       5. มี การเชื่อมต่อเป็นระบบเครือข่าย เช่น อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต ( LAN)
       ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ Moodle
       1. ผู้ดูแลระบบ (Admin) : ติดตั้งระบบ บำรุงรักษา กำหนดค่าเริ่มต้น และกำหนด สิทธ์การเป็นครูผู้สอน
       2. ผู้สอน ( Teacher) : เพิ่มแหล่งข้อมูล เพิ่มกิจกรรม ให้คะแนน ตรวจสอบกิจกรรมผู้เรียน ตอบคำถาม และติดต่อสื่อสาร
       3. ผู้เรียน ( Student) : เข้าศึกษาแหล่งข้อมูล และทำกิจกรรม ตามแผนการสอน
       4. ผู้เยี่ยมชม ( Guest) : เข้าเรียนได้เฉพาะวิชาที่อนุญาต และจำกัดสิทธ์ ในการทำกิจกรรม


Flipped Classroom

      “Flipped Classroom” หมายถึงกระบวนการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่งซึ่งเปลี่ยนการใช้ช่วงเวลาของการบรรยายเนื้อหา (Lecture) ในห้องเรียนเป็นการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อฝึกแก้โจทย์ปัญหา และประยุกต์ใช้จริง ส่วนการบรรยายจะอยู่ในช่องทางอื่นๆ เช่น วิดีโอ วิดีโอออนไลน์ podcasting หรือscreencasting ฯลฯ ซึ่งนักเรียนเข้าถึงได้เมื่ออยู่ที่บ้านหรือนอกห้องเรียน ดังนั้น การบ้านที่เคยมอบหมายให้นักเรียนฝึกทำเองนอกห้องจะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในห้องเรียน และในทางกลับกัน เนื้อหาที่เคยถ่ายทอดผ่านการบรรยายในห้องเรียนจะเปลี่ยนไปอยู่ในสื่อที่นักเรียนอ่าน-ฟัง-ดู ได้เองที่บ้านหรือที่ไหนๆ ก็ตาม (Kachka, 2012) ผู้สอนอาจทิ้งโจทย์ หรือให้นักศึกษาสรุปความเนื้อหานั้นๆ เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของนักศึกษา และนำมาอภิปรายหรือปฏิบัติจริงในห้องเรียน
         ลองคิดดูว่าในการเรียนที่เน้นการบรรยายและถ่ายทอดเนื้อหาของบทเรียนเป็นหลักนั้น ผู้เรียนจะมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับการจดจำในสิ่งที่ผู้สอนถ่ายทอดมากกว่า แต่ในทางตรงข้าม รูปแบบของ Flipped Classroom ที่เน้นกิจกรรมการเรียนรู้ให้ได้ทำกิจกรรมที่เน้นกระบวนการคิดเกี่ยวกับแนวคิดหลักหรือแก่นของความรู้นั้นๆ (core concept) ช่วยให้ผู้สอนทราบว่าผู้เรียนยังต้องการความรู้หรือขาดความเข้าใจในส่วนใด ต้องการคำชี้แนะอย่างไรบ้าง บรรยากาศในห้องเรียนลักษณะนี้ดีกว่าการมุ่งบรรยายสาระความรู้ที่ผู้สอนต้องการให้ครบถ้วนตามแผนการสอนในลักษณะของการสื่อสารทางเดียว แต่ไม่สามารถสร้างส่วนร่วมหรือดึงดูดความสนใจจากผู้เรียน ฉะนั้น เหตุผลประการหนึ่งที่น่าสนใจของ Flipped คือ การเรียนการสอนที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้เรียน เนื่องจากกิจกรรมที่ให้ฝึกฝนนั้นจะช่วยให้ผู้สอนรู้ feedback ว่านักเรียนมีความรู้ มีทักษะหลังจากการเรียนไปแล้วดังที่คาดหวังไว้หรือไม่ได้เป็นอย่างดี

ห้องเรียนเสมือนจริง (Vitual Classroom)

ความหมาย
          หมายถึง การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในรูปแบบของ software โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะช่วยสนับสนุนให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ โดยสามารถเลือกเวลา และสถานที่ที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง โดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการจัดห้องเรียนเสมือนคือ ระบบปฏิบัติการของห้องเรียนเสมือน ที่ต่างไปจากการเรียนในห้องเรียน รวมถึงการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้หรือไม่ นอกจากนั้นสิ่งที่การเรียนในห้องเรียนเสมือนไม่มีคือ การปฏิสัมพันธ์หรือสังคมระหว่างผู้เรียนด้วยกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องคิดว่าห้องเรียนเสมือนจะทำให้เกิดขึ้นได้อย่างไร
          ห้องเรียนเสมือน เป็นการจัดสิ่งแวดล้อมในความว่างเปล่า (space) โดยอาศัยศักยภาพของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เป็นการจัดประสบการณ์เสมือนจริงแก่ผู้เรียน นอกจากนั้นยังมีสิ่งสนับสนุน อื่น ๆ ที่จะช่วยทำให้การมีปฏิสัมพันธ์แบบเผชิญหน้า ซึ่ง ี่บางโอกาสอาจจะเป็นไปไม่ได้หรือเป็นไปได้ยากนั้น สามารถกระทำได้เสมือนบรรยากาศการพบกันจริง ๆ กระบวนการทั้งหมดดังที่กล่าวมานี้ มิใช่เป็นการเดินทางไปที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย แต่จะเป็นการเข้าถึงด้านการพิมพ์ การอ่านข้อความ หรือข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่มีซอฟแวร์ เพื่อควบคุมการสร้างบรรยากาศแบบห้องเรียนเสมือน การมีส่วนร่วมจะเป็นแบบภาวะต่างเวลา ซึ่งทำให้มีผู้เรียน ในระบบห้องเรียนเสมือนสามารถเชื่อมต่อเข้าไปศึกษาได้ทุกที่ทุกเวลา
          ทำไมต้องมี Virtual classroom 
          การคิดค้นห้องเรียนเสมือนเกิดจากข้อจำกัดของการเรียนการสอนแบบเดิม คือ
          1. สถานที่จำกัดเฉพาะในห้องเรียน
          2. การเรียนรู้จำกัดเฉพาะกับครู ผู้เรียน และตำรา
          3. เวลาในการจัดการเรียนการสอน
          4. โอกาสในการเรียนการสอน สถานที่เรียนไม่เพียงพอกับผู้ประสงค์จะเรียน
          5. สัดส่วนของครูและนักเรียนไม่เหมาะสม
          ลักษณะของห้องเรียนเสมือน
          ห้องเรียนเสมือนสามารถจำแนกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
          1. จัดการเรียนการสอนในห้องเรียนธรรมดา แต่มีการถ่ายทอดสดภาพและเสียงเกี่ยวกับเนื้อหาของบทเรียน โดยอาศัยระบบโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งเรียกว่า Online ไปยังผู้เรียนที่อยู่นอกห้องเรียน ซึ่งสามารถโต้ตอบกับผู้สอน หรือเพื่อนที่อยู่คนละแห่งได้
          2. ห้องเรียนเสมือน เป็นการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่าย ที่อาศัยประสิทธิภาพของเทคโนโลยีการสื่อสารและอินเทอร์เน็ต ทำได้โดยผู้เรียนใช้คอมพิวเตอร์เข้าสู่เว็บไซต์ของห้องเรียนเสมือน และดำเนินการเรียนตามกิจกรรมที่ผู้สอนได้ออกแบบไว้ ห้องเรียนลักษณะนี้เรียกว่า "ห้องเรียนเสมือนที่แท้"
          ข้อจำกัดห้องเรียนเสมือน
          ข้อจำกัดของการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือนมีหลายประการดังนี้
          1. อุปกรณ์และซอฟแวร์ในการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือนมีราคาแพง
          2. มีความล่าช้าในการรอข้อมูลย้อนกลับ ดังนั้นนักเรียนจึงไม่สามารถได้รับคำตอบโดยทันทีเมื่อต้องการซักถามผู้สอน
          3. ผู้เรียนต้องมีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี
          4. ปฎิสัมพันธ์ทางการเรียนไม่มีความเป็นธรรมชาติ หรือมีน้อยเกินไป
          5. ผู้เรียนส่วนใหญ่ยังขาดความรับผิดชอบในการเรียนด้วยตนเอง
          การจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือน นับเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่ช่วยลดข้อจำกัดในด้านต่าง ๆ ทางการศึกษาได้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความพอใจ ตามความพร้อมทั้งทางด้านเวลา สถานที่และความสามารถทางสติปัญญา การเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือนนี้สามารถจัดได้ทั้งแบบการศึกษาในโรงเรียน นอกโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย ส่งผลให้คนส่วนใหญ่สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต อย่างไรก็ตามยังมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการจัดห้องเรียนเสมือนอยู่อีกมาก เช่น ระบบบริหารจัดการของห้องเรียน การประเมินผลสัมฤทธิ์ของการเรียน และสิ่งที่การเรียนในห้องเรียนเสมือนไม่มีก็คือ ปฏิสัมพันธ์ทางด้านสังคมระหว่างผู้เรียนด้วยกัน สิ่งเหล่านี้คือคำถามที่ต้องคิดว่าห้องเรียนเสมือนจะทำให้เกิดขึ้นได้อย่างไร แม้ว่าต้นทุนในการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือนจะสูงมาก แต่ถ้าหากมีการบริการจัดการจนมีประสิทธิภาพ และเป็นที่แพร่หลายแล้ว ผลกำไรจะเกิดขึ้นกับสังคมและประเทศชาติ ในรูปของคนส่วนใหญ่ของประเทศได้รับความรู้ ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาส่วนต่าง ๆ ของประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต

วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2557

การศึกษาในศตวรรษที่ 21

การศึกษาในศตวรรษที่ 21
 ทุกคนต้องเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัย และตลอดชีวิต คือ 3R x 7C
3R คือ Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้) (A)Rithmetics (คิดเลขเป็น)

7C คือ

Critical thinking & problem solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)
Creativity & innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม)
Cross-cultural understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์)
Collaboration, teamwork & leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
Communications, information & media literacy (ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
Computing & ICT literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
Career & learning skills (ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้)


Credit  http://www.noppawan.sskru.ac.th/data/learn_c21.pdf